วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กาแฟ

กาแฟ COFFEE
 
 
ที่มาของกาแฟ

เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดซึ่งได้จาก ต้นกาแฟ หรือมักเรียกว่า เมล็ดกาแฟ คั่ว มีการปลูกต้นกาแฟในมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก กาแฟเขียว (กาแฟซึ่งยังไม่ผ่านการคั่ว) เป็นหนึ่งในสินค้าทางการเกษตรซึ่งมีการซื้อขายกันมากที่สุดในโลก กาแฟมีส่วนประกอบของคาเฟอีน ทำให้มันมีสรรพคุณชูกำลังในมนุษย์ ปัจจุบัน กาแฟเป็นเครื่องดื่มซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก

เชื่อกันว่ากาแฟถูกค้นพบครั้งแรกโดยเด็กเลี้ยงแพะชาวอาบิสซีเนีย (ประเทศเอธิโอเปียในปัจจุบัน) ชื่อคาลดี จากการสังเกตพบว่า แพะดูกระปรี้กระเปร่าขึ้นเมื่อกินผลไม้สีแดงของต้นไม้ต้นหนึ่ง ซึ่งก็คือต้นกาแฟนั่นเอง. ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 16 กาแฟถูกปลูกโดยชาวอาหรับเท่านั้น คำว่ากาแฟ เป็นคำที่มาจากคำว่า "เกาะหฺวะหฺ" ในภาษาอาหรับ แล้วเพี้ยนเป็น กาห์เวห์ ในภาษาตุรกี ก่อนที่จะกลายเป็น คอฟฟี ในภาษาอังกฤษ และกาแฟ ในภาษาไทย ชาวอาหรับหวงแหนพันธุ์กาแฟมาก จึงส่งออกเฉพาะเมล็ดกาแฟที่คั่วสุกแล้วเท่านั้น แต่ในที่สุดเมล็ดกาแฟก็ออกมาสู่โลกกว้าง โดยการลักลอบนำออกมาโดยชาวอินเดียที่ไปแสวงบุญที่เมกกะ และก็ได้แพร่ขยายไปยังชวา เนเธอร์แลนด์ และทั่วยุโรปในที่สุด. สำหรับทวีปอเมริกานั้น ต้นกาแฟถูกนำไปอย่างยากลำบาก โดยทหารเรือฝรั่งเศสในต้นศตวรรษที่ 18 ในครั้งแรกนั้น มีต้นกาแฟที่เหลือรอดชีวิตบนเรือมาขึ้นฝั่งอเมริกาได้เพียง 1 ต้น และก็ได้แพร่ขยายเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันดินแดนแห่งนี้ ได้กลายเป็นดินแดนที่ปลูกกาแฟมากที่สุดในโลก

วิธีการปลูกกาแฟ

กาแฟมักจะได้รับการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเมล็ด วิธีดั้งเดิมในการปลูกกาแฟคือการใส่เมล็ดกาแฟจำนวน 20 เมล็ดในแต่ละหลุม เมื่อย่างเข้าฤดูฝน เมล็ดกาแฟครึ่งหนึ่งจะถูกกำจัดตามธรรมชาติ เกษตรกรมักจะปลูกต้นกาแฟร่วมกับพืชผลประเภทอื่น ๆ อย่างเช่น ข้าวโพด ถั่ว หรือ ข้าว ในช่วงปีแรก ๆ ของการเพาะปลูก กาแฟสายพันธุ์หลักที่ปลูกกันทั่วโลกมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ Coffea canephora และ Coffea arabica กาแฟอาราบิกา (ผลผลิตจาก Coffea arabica) ถูกพิจารณาว่าเหมาะแก่การดื่มมากกว่ากาแฟโรบัสตา (ผลผลิตจาก Coffea canephora) เพราะกาแฟโรบัสตามักจะมีรสชาติขมกว่าและมีรสชาติน้อยกว่ากาแฟอาราบิกา ด้วยเหตุผลดังกล่าว กาแฟที่เพาะปลูกกันจำนวนกว่าสามในสี่ของโลกจึงเป็น Coffea arabicaอย่างไรก็ตาม Coffea canephora สามารถพิสูจน์ได้ว่าสามารถก่อให้เกิดโรคได้น้อยกว่า Coffea arabica และสามารถปลูกได้ในสภาพแวดล้อมที่ Coffea arabica ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ กาแฟโรบัสตามีปริมาณคาเฟอีนผสมอยู่มากกว่ากาแฟอาราบิกาอยู่ประมาณ 40-50%ดังนั้น ธุรกิจกาแฟจึงมักใช้กาแฟโรบัสตาทดแทนกาแฟอาราบิกาเนื่องจากมีราคาถูกกว่า กาแฟโรบัสตาคุณภาพดีมักจะใช้ผสมในเอสเพรสโซเพื่อให้เกิดฟองและลดค่าวัตถุดิบลง นอกจากกาแฟทั้งสองสายพันธุ์นี้แล้ว ยังมี Coffea liberica และ Coffea esliaca ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพืชท้องถิ่นของประเทศไลบีเรียและทางตอนใต้ของประเทศซูดานตามลำดับ
เมล็ดกาแฟอาราบิกาส่วนใหญ่ปลูกในละตินอเมริกา แอฟริกาตะวันออก อาราเบียหรือเอเชีย ส่วนเมล็ดกาแฟโรบัสตาปลูกในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง ไปจนถึง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบางส่วนของประเทศบราซิล เมล็ดกาแฟที่ปลูกในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันส่งผลให้เมล็ดกาแฟของแต่ละท้องถิ่น ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะตัว อย่างเช่น รสชาติ กลิ่น สัมผัสและความเป็นกรดลักษณะรสชาติของกาแฟนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ปลูกเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์กำเนิดและกระบวนการผลิตด้วยซึ่งโดยปกติแล้ว ความแตกต่างนี้จะสามารถรับรู้กันในท้องถิ่นเท่านั้น


 
ประเภทของกาแฟ
 
เอสเปรสโซ 
 
คือกาแฟที่มีรสแก่และเข้ม ซึ่งมีวิธีการชงโดยใช้แรงอัดไอน้ำหรือน้ำร้อนผ่านเมล็ดกาแฟคั่วที่บดละเอียด ที่มาของชื่อ เอสเปรสโซ มาจากคำภาษาอิตาลี "espresso" แปลว่า เร่งด่วน เอสเปรสโซเป็นกาแฟที่นิยมมากที่สุดในแถบประเทศยุโรปตอนใต้ โดยเฉพาะประเทศอิตาลี การสั่งกาแฟ "caffe" ในร้านโดยทั่วไปก็คือสั่งเอสเปรสโซ เอสเปรสโซถูกผลิตที่อิตาลีเอสเปรสโซมีต้นกำเนิดที่อิตาลีตอนที่อิตาลีล่าเอธิโอเปียมาเป็นอาณานิคมกาแฟก็นำมาปลูกที่อิตาลีส่วนใหญ่  
กาแฟนม
 
เป็นเครื่องดื่มที่คล้ายๆกับนมช็อกโกแลต แต่ใช้น้ำเชื่อมกาแฟแทนการใช้น้ำเชื่อมช็อกโกแลต
 

มอคค่า
 
เป็นเครื่องดื่มกาแฟที่คล้ายกับกาแฟลาเต้คือมีเอสเพรสโซ่ 1/3 ส่วนและนมร้อน 2/3 ส่วน แต่แตกต่างกันที่มอคค่าจะมีส่วนผสมของช็อคโกแลตด้วย โดยมักจะใส่ในรูปของน้ำเชื่อมช็อคโกแลต เสิร์ฟได้ทั้งแบบร้อนและแบบเย็นใส่น้ำแข็ง มักมีวิปครีมปิดหน้า
 
คาปูชิโน
 
เป็นหนึ่งในเครื่องดื่มประเภทกาแฟซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอิตาลี คาปูชิโนมีส่วนประกอบหลักคือ เอสเปรสโซ และ นม คำว่า Cappuccino เป็นภาษาอิตาเลียน ออกเสียงให้ถูกต้องว่า กัปปุชชิโน่ ในประเทศอิตาลี ผู้คนมักดื่มคาปูชิโนเป็นอาหารเช้าโดยเฉพาะ โดยอาจมีขนมปังแผ่นหรือคุกกี้ประกอบ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าวิถีชีวิตของชาวอิตาลีมักไม่ค่อยรับประทานอาหารเช้าแบบเป็นกิจลักษณะ คาปูชิโนและขนมปังเบาๆ จึงเหมาะเป็นอาหารรองท้องสำหรับยามเช้า และด้วยเหตุนี้ทำให้ไม่ดื่มคาปูชิโนในช่วงอื่นของวัน แต่สำหรับต่างประเทศรวมถึงประเทศไทย การดื่มคาปูชิโน ดื่มได้ทุกเวลาโดยไม่ถือว่าเป็นเรื่องแปลก
 
กาแฟเย็น มักเสิร์ฟพร้อมนมกับน้ำตาล

กาแฟแต่งกลิ่นและรส (Flavoured coffee) บางสังคมมักนิยมแต่งกลิ่นและรสกาแฟ ช็อกโกแลตเป็นสิ่งหนึ่งที่นิยมเติมกัน อาจโดยการโรยข้างบน หรือผสมเข้ากับกาแฟ เพื่อเลียนแบบรสชาติของมอคค่า รสอื่นๆ ที่นิยมเติมได้แก่เครื่องเทศต่างๆ เช่น อบเชย, ลูกจันทน์เทศ (nutmeg) , กระวาน, และน้ำเชื่อมอิตาเลียน (Italian syrups)

กาแฟดำ ชงด้วยวิธีการหยดน้ำ อาจเป็นแบบให้น้ำซึมหรือแบบเฟรนช์เพรส เสิร์ฟโดยไม่ใส่นม อาจเติมน้ำตาลได้ ผู้คนมักเข้าใจผิดว่ากาแฟดำกับเอสเปรสโซเป็นอย่างเดียวกัน แต่ที่จริงแล้วกาแฟทั้งสองชนิดมีข้อแตกต่างกันหลายข้อ ข้อที่สำคัญคือ
  • ถ้วยเสิร์ฟของเอสเปรสโซมีขนาดเล็กกว่า เพราะนิยมดื่มให้หมดในอึกเดียว
  • ปกติแล้วเอสเปรสโซจะไม่ใส่น้ำตาลหรือนม เพราะคนไม่นิยม
  • เอสเปรสโซที่ชงถูกวิธีจะต้องมีฟองสีทองลอยอยู่ด้านบน
  • รสชาติของเอสเปรสโซจะติดปากหลังจากดื่มนานกว่า (15-30 นาที)

กาแฟขาว (White coffee) เป็นกาแฟที่เติมนมเข้าไปหลังจากทำเสร็จ อาจเติมน้ำตาลด้วยก็ได้



 
 
ผลิตภัณฑ์จากกาแฟ
 
ปัจจุบันความต้องการในการบริโภคกาแฟภายในประเทศ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูง ทำให้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพื่อทำการผลิต ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกาแฟออกมาวางจำหน่ายในตลาดมากมาย เพื่อเป็นการเลือกบริโภคกาแฟให้ถูกต้องตามความต้องการจึงขอแนะนำลักษณะของผลิตภัณฑ์กาแฟประเภทใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้
ลักษณะของผลิตภัณฑ์กาแฟแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. กาแฟคั่วบด ( Roast and Ground coffee )
2. กาแฟผงสำเร็จรูป ( Instant coffee, Soluble coffee)
3. กาแฟพร้อมดื่ม ( Ready to drink coffee )
 
1. กาแฟคั่วบด (Roast and ground coffee) หมายถึง การนำสารกาแฟ หรือเมล็ดกาแฟ มาคั่วให้สุก ได้สีน้ำตาล มีกลิ่นหอมและรสชาติที่ต้องการ ต่อจากนั้นนำมาบดให้เป็นผง แล้วนำไปต้มหรือผ่านความร้อนด้วยอุปกรณ์การเตรียมกาแฟชนิดต่างๆ โดยต้องมีการกำจัดกากกาแฟออกด้วยการกรอง คุณสมบัติของกาแฟคั่วบดที่ดีควรมี สี กลิ่น รส เป็นกาแฟแท้ และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ ที่กาแฟได้รับ เช่น ลักษณะภูมิศาสตร์ พฤกษศาสตร์ สภาพแวดล้อม กระบวนการผลิต การเก็บรักษา การใช้ความร้อนและเวลาในการคั่ว นอกจากนี้อุปกรณ์และวิธีในการชงในขั้นตอนสุดท้ายก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพื่อให้ได้คุณภาพตามชนิดของกาแฟนั้น กาแฟคั่วบด มักทำมาจากกาแฟอราบิก้าเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งผู้ผลิตจะใช้อัตราส่วนการผสมระหว่างกาแฟ อราบิก้ากับโรบัสต้า ต่างๆ กันไป ตามจุดประสงค์ของผลิตภัณฑ์ของตนเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ตลาดกาแฟคั่วบดจัดเป็นตลาดขนาดเล็ก ยังไม่แพร่หลายเหมือนอย่างต่างประเทศ เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์เครื่องต้มและกรอง กาแฟที่มีราคาค่อนข้างสูงและมีกรรมวิธีหลายขั้นตอนทำให้ยุ่งยากต่อการบริโภค กลุ่มผู้บริโภคจะต้องการกลิ่นและรสชาติของกาแฟพันธุ์ดี แม้ราคาต่อถ้วยจะสูงกว่ากาแฟสำเร็จรูป (ประมาณ 25-60 บาท ต่อถ้วย) แต่ตลาดของกาแฟประเภทนี้ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของร้านกาแฟตามสถานีน้ำมัน (ปั๊มน้ำมัน) ห้างสรรพสินค้าและกิจการในลักษณะของเฟรนไชส์ เป็นต้น
 



2. กาแฟสำเร็จรูป ( Instant coffee , Soluble coffee ) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลกาแฟที่สุกแก่เต็มที่ตากให้แห้งสนิทมีความชื้นที่เหมาะสม นำมาคั่วจนได้ที่ มิได้มีการผสมสิ่งอื่นใด แล้วนำมาสกัดด้วนน้ำเท่านั้น จากนั้นนำไประเหยน้ำออกมาจนแห้งด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสม มีลักษณะเป็นผง หรือเกล็ด สามารถละลายน้ำได้หมดทันที กาแฟผงสำเร็จรูปที่ผลิตในประเทศไทย มักทำมาจากกาแฟโรบัสต้าเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากกาแฟโรบัสต้านั้นมีเนื้อกาแฟ (Body ) มากกว่า และมีราคาถูกกว่ากาแฟอราบิก้า
ประเภทของผลิตภัณฑ์กาแฟผงสำเร็จรูปที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบันมีดังต่อไปนี้ คือ


2.1 กาแฟผงสำเร็จรูปที่ผลิตจากเมล็ดกาแฟ โดยไม่มีการปรุงแต่งด้วยส่วนผสมประกอบอื่นๆ แต่ผลิตภัณฑ์ อาจมีความแตกต่างกันเนื่องจากส่วนผสมของกาแฟที่ใช้ อุณหภูมิ และเวลาในการคั่ว


2.2 กาแฟผงสำเร็จรูปที่ผลิตจากเมล็ดกาแฟและมีการปรุงแต่งด้วยสารอื่นๆ เพื่อให้ได้รสชาติตามความต้องการของ ผู้บริโภค เช่น การผสมด้วยน้ำตาลเคี่ยวข้น (Caramel) เพื่อปรุงแต่งสี และกลิ่นของกาแฟให้น่าดื่มยิ่งขึ้น


2.3 กาแฟผงสำเร็จรูปชนิดที่ผสม ครีมเทียมและน้ำตาล หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า กาแฟทรี อิน วัน (Three in one) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผสมครีมเทียมและน้ำตาลไว้เรียบร้อยแล้ว เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคยิ่งขึ้น เพียงแต่เทน้ำร้อนลงไป คนให้ละลายก็ดื่มกาแฟที่มีรสชาติหวาน หอม มันได้ทันที


2.4 กาแฟผงสำเร็จรูปที่สกัดคาเฟอีน (Decaffeinated coffee) ผลิตจากเมล็ดกาแฟที่สกัดสารคาเฟอีนออกไปแล้ว นำมาผ่านขบวนการทำเป็นกาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟประเภทนี้เหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการ หรือไม่สามารสดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนได้ ซึ่งแน่นอนว่าราคาจะต้องสูงกว่ากาแฟผงสำเร็จรูป แบบปกติ


2.5 กาแฟผงสำเร็จรูปชนิดแต่งกลิ่น (Flavored coffee) เป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่มีไว้สำหรับผู้บริโภคที่ชอบความแปลกใหม่ หรือชอบกลิ่นของพืชบางชนิด ประกอบกับกลิ่นของกาแฟ เช่นกลิ่นวานิลา กลิ่นโสม

3. กาแฟพร้อมดื่ม (Ready to drink coffee) หมายถึง ผลิตภัณฑ์กาแฟที่บรรจุอยู่ในกระป๋อง หรือกล่อง สามารถดื่มได้ทันที เพื่อตอบสนองความต่อความต้องการของผู้บริโภคในด้านความสะดวกในการหาซื้อ และวิธีดื่มได้เป็นอย่างดี ทำให้ตลาดกาแฟประเภทนี้มีการเติบโตและ มีการแข่งขันในตลาดค่อนข้างสูง ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายรสชาติ ตามความนิยมของบุคคล


 
อุตสาหกรรมกาแฟ

 อุตสาหกรรมการแปรรูปกาแฟนั้น  เป็นสิ่งสำคัญที่อุตสาหกรรมกาแฟผงสำเร็จรูปจะต้องผลิตออกมาสู้ท้องตลาด และอุตสาหกรรมเครื่องดื่มกาแฟที่นำกาแฟผงสำเร็จรูปมาปรุงพร้อมดื่ม  ส่วนอุตสาหกรรมกาแฟคั่วและเมล็ดกาแฟนั้นจะผลิตขึ้นเพื่อขายไปสู้ร้านกาแฟสดซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายแหล่ง  มีทั้งนำส่งออกต่างประเทศและขายในประเทศ  ซึ่งกระบวนการผลิตนั้นไม่ยุ่งยากและไม่ซับซ้อน  ซึ่งกาแฟคั่วและเมล็ดกาแฟจะนำไปแปรรูปเป็นกาแฟผง  และสุดท้ายจะเข้าสู่กระบวนการชง ซึ่งมีทั้งกาแฟสดที่บดจากเมล็ดกาแฟโดยตรง หรือกาแฟกระป๋องสำเร็จรูป ที่ผลิตมาจากกาแฟผงกึ่งสำเร็จรูปที่ชงพร้อมดื่ม


กระบวนการแปรรูปกาแฟ (Coffee Processing)

         อุตสาหกรรมกาแฟเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยและภาคใต้  ก่อให้ เกิดการจ้างงานและเป็นการสร้างรายได้ให้กับประเทศอีกทางหนึ่ง โดยอุตสาหกรรมกาแฟของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปขั้นต้นที่นำเอากาแฟสดมาแปรรูปให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมและสะดวกในการนำไป ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์กาแฟต่อไป โดยอุตสาหกรรมกาแฟนั้น มีการผลิตสารกาแฟ 2 วิธีด้วยกันคือ กระบวนการแปรรูปแบบแห้ง (Dry Processing) หรือที่เรียกว่า “การสีแห้ง” และการแปรรูปแบบเปียก (Wet Processing) หรือที่เรียกว่า “การสีเปียก” กระบวนการแปรรูปแบบเปียกหรือสีเปียกจะคำนึงถึงคุณภาพผลิตภัณฑ์ในระดับสูง แต่กระบวนการแบบแห้งจะให้รสสัมผัสกาแฟที่กลมกล่อม



การคั่ว (Roasting)

         การคั่วเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการผลิตกาแฟ โดยกลิ่นรสสุดท้ายของกาแฟจะขึ้นกับวิธีการ ตลอดจนสภาวะที่ใช้คั่ว โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมในการคั่วอยู่ที่ประมาณ 200 องศาเซลเซียส



การคัดเลือก (Grading)

         กาแฟจะถูกคัดเกรดตามขนาด รูปร่าง กลิ่น ความหนาแน่นและสีของเมล็ดกาแฟ โดยอุตสาหกรรมขนาดเล็กจะใช้คนในการคัดเกรด


การบด (Grinding)

         การบดเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ โดยเครื่องบดพื้นฐานที่นิยมใช้คือ Manual Grinders ใช้คนบด และ Motorized Grinders ใช้เครื่องบด


อุตสาหกรรมกาแฟผงกึ่งสำเร็จรูป (Instant Coffee)

         อุตสาหกรรมกาแฟผงสำเร็จรูป  เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517 โดยมีบริษัท กาแฟผงไทย จำกัด เป็นผู้ผลิตรายแรกในตรา “เนสกาแฟ” ต่อมาเมื่อบริษัท เนสท์เล่ (สวิตเซอร์แลนด์) เข้ามาเป็นผู้ร่วมทุน จึงได้ตั้งบริษัทชื่อบริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่โปรดัคส์ จำกัดขึ้นมาเป็นผู้ผลิตกาแฟผงสำเร็จรูปแทน ส่วนบริษัทเขาช่องอุตสาหกรรม 1979 จำกัด และ บริษัท ซาราลี (ประเทศไทย) จำกัด (เดิมชื่อบริษัท สยามโคน่า จำ กัด ) นั้นเข้ามาเป็นผู้ผลิตกาแฟผงสำเร็จรูปในภายหลัง  ในปี พ.ศ. 2543 ประเทศไทยมีกำลังการผลิตกาแฟผงสำเร็จรูปทั้งอุตสาหกรรมจำนวนประมาณ 15,690 ตัน โดยมีปริมาณการผลิตประมาณ 10,000 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 64 ของกำลังการผลิตทั้งหมด ซึ่งกาแฟผงสำเร็จรูปยี่ห้อ “เนสกาแฟ” มีส่วนแบ่งตลาด โดยคำนวณจากปริมาณการผลิตในปี พ.ศ.2544  มากที่สุดถึงร้อยละ 88 (ตารางประกอบ) ส่วนยี่ห้อ “เขาช่อง” และ “มอคโคน่า” นั้นมีส่วนแบ่งตลาดใกล้เคียงกันคือร้อยละ 3 และ 4 ตามลำดับ ส่วนกาแฟผงสำเร็จรูปที่นำเข้าจากต่างประเทศนั้นยังมีปริมาณไม่มากนักซึ่งมักเป็นกาแฟผงสำเร็จรูปที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศไทย จะเห็นได้ว่าโครงสร้างของการตลาดกาแฟมีลักษณะที่มีผู้ประกอบการรายใหญ่รายเดียวในตลาด จึงอาจมีความเสี่ยงต่อการผูกขาดในตลาดสูง





THANK YOU